วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทศชาติชาดก

                   วันนี้ครูพี่ทิพย์ขอนำเสนอทศชาติชาดกนะคะ มาติดตามไปด้วยกันเป็นตอนๆเลยนะคะ


ทศชาติชาดก

            ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง เพื่อให้จำง่าย มักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ คือ เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว

ชาดก ทั้ง 10 เรื่อง

ชาติที่ 1 เตมีย์ชาดก 
         เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี – เตมียชาดก (เต) เป็นชาติแรกในทศชาติชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านาม พระสมณโคดม ชาตินี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การละทิ้งจากกามคุณทั้ง ๕
         คติธรรม : บำเพ็ญเนกขัมมบารมี
“เมื่อมีประสงค์ในสิ่งใดก็สมควรมุ่งมั่นตั้งใจกระทำตามความมุ่งหมายนั้นอย่างหนักแน่น อดทนอย่างเพียรพยายามเป็นที่สุด และความพากเพียรอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่นั้น ย่อมนำบุคคลนั้นไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง”

ชาติที่ 2ชนกชาดก
          เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี – มหาชนกชาดก (ช) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูดลองใจว่าให้พระองค์ยอมตายเสียเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิมนางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี
           คติธรรม : บำเพ็ญวิริยบารมี
“เกิดเป็นคนควรมีความพากเพียรให้ถึงที่สุด เพื่อให้ถึงแก่สิ่งที่มุ่งหวัง เพียรสุดกำลังจนชีวิตหาไม่ก็จงเพียร แล้วความสำเร็จจะมาเยือน”

ชาติที่ 3 สุวรรณสามชาดก 
        เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี – สุวรรณสามชาดก (สุ) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพรหมฤๅษี ต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งกบิลยักษ์แผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดี พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี ลิงก์ไปยังไฟล์วีดีโอ
         คติธรรม : บำเพ็ญเมตตาบารมี
“ว่าด้วยเรื่องของความมีเมตตาจิต ซึ่งจะทำให้ชีวิตสุขสงบได้โดยไร้ภยันอันตรายใดๆ ธรรมนั้นคือเกราะแก้วมิให้ถูกผู้ใดทำร้ายได้เป็นแน่แท้ ”

ชาติที่ 4 เนมิราชชาดก 
         เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี – เนมิราชชาดก (เน) เป็นชาติที่ 4 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราช โอรสเจ้าเมืองมิถิลา โปรดการบริจาคทานและรักษาพรหมจรรย์ พระอินทร์ทรงพอพระทัย ถึงกับให้พระมาตุลีนำทิพยรถมารับไปเที่ยวเมืองสวรรค์ และเมืองนรก แล้วเชิญให้ครองเมืองสวรรค์ พระเนมิราชไม่ทรงรับและเสด็จกลับบ้านเมืองของพระองค์ พอทรงชราก็ออกผนวช พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
         คติธรรม : บำเพ็ญอธิษฐานบารมี
“การหมั่นรักษาความดีประพฤติชอบโดยตั้งใจ โดยมุ่งมั่น หากทำความดีแล้วย่อมได้ดี ประพฤติชั่วย่อมได้ผลชั่วตอบแทน นี้เป็นเรื่องที่สมควรยึดมั่นโดยแท้”

ชาติที่ 5 มโหสถชาดก
         เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี
         คติธรรม : บำเพ็ญปัญญาบารมี
“ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน แม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว”

ชาติที่ 6 ภูริทัตชาดก
         เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี
         คติธรรม : บำเพ็ญศีลบารมี
“ความโลภนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายเช่นเดียวกับการเนรคุณ แต่ความอดทนย่อมประเสริฐยิ่งนักแล้ว”

ชาติที่ 7 จันทชาดก
          เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี
          คติธรรม : บำเพ็ญขันติบารมี
“เรื่องอาฆาตจองเวรนั้น ย่อมให้ทุกข์กลับคืนแก่ตนในที่สุด และความเขลาหลงในทรัพย์และสุขของผู้อื่นก็ย่อมให้ผลร้ายแก่ตัวได้ในไม่ช้าเช่นกัน”

ชาติที่ 8 นารทชาดก 
          เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
          คติธรรม : บญอุเบกขาบารมี
“สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำผิดบาปย่อมได้ชั่วช้าสามานย์เป็นผลตอบ และการคบมิตรสหายนั้นก็จะส่งผลดีเลวแก่ตัวบุคคลนั้นด้วย”

ชาติที่ 9 วิทูรชาดก
         เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี
         คติธรรม : บำเพ็ญสัจจบารมี
“เหตุแห่งความพิบัติคือการพนัน และการมีเมตตาจิตย่อมส่งผลให้ได้รับเมตตาจิตตอบด้วยในที่สุด”

ชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก 
         เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หรือเรื่องพระเวสสันดร
         คติธรรม : บำเพ็ญทานบารมี
“สั่งสอนให้คนเราเพียรประกอบคุณความดีโดยมิท้อถอย หากรู้จักสละทรัพย์บริจาคทานเนื่องนิจก็จะเป็นที่สรรเสริญทั่วไป คนโลภคนจิต”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น