วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทศชาติชาดก ชาติที่ 2 พระมหาชนก


วันนี้เรามาดูกันต่อเลย เป็นทศชาติชาดก ชาติที่ 2 นะคะ
ชนกชาดก  
ชาติที่ 2 เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี - มหาชนกชาดก (ช) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูดลองใจว่าให้พระองค์ยอมตายเสียเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิมนางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี



วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทศชาติชาดก ชาติที่ 1 พระเตมีย์

วันนี้เรามาเรียนรู้ ชาดกชาติที่ 1 ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ากันนะคะ นั้นก็คือ เตมียชาดก

ทศชาติชาดก ชาติที่ 1 พระเตมีย์

ชาติที่ 1 เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี - เตมียชาดก (เต) เป็นชาติแรกในทศชาติชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านามพระโคดม ชาตินี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การละทิ้งจากกามคุณทั้ง 5

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ทศชาติชาดก

                   วันนี้ครูพี่ทิพย์ขอนำเสนอทศชาติชาดกนะคะ มาติดตามไปด้วยกันเป็นตอนๆเลยนะคะ


ทศชาติชาดก

            ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์ ชาดกทั้ง 10 เรื่อง เพื่อให้จำง่าย มักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ คือ เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว

ชาดก ทั้ง 10 เรื่อง

ชาติที่ 1 เตมีย์ชาดก 
         เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี – เตมียชาดก (เต) เป็นชาติแรกในทศชาติชาดก ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นสมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านาม พระสมณโคดม ชาตินี้ พระองค์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี หมายถึง การละทิ้งจากกามคุณทั้ง ๕
         คติธรรม : บำเพ็ญเนกขัมมบารมี
“เมื่อมีประสงค์ในสิ่งใดก็สมควรมุ่งมั่นตั้งใจกระทำตามความมุ่งหมายนั้นอย่างหนักแน่น อดทนอย่างเพียรพยายามเป็นที่สุด และความพากเพียรอันเด็ดเดี่ยวแน่วแน่นั้น ย่อมนำบุคคลนั้นไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง”

ชาติที่ 2ชนกชาดก
          เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี – มหาชนกชาดก (ช) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระชนกกุมาร โอรสพระเจ้าอริฏฐชนก กษัตริย์เมืองมิถิลา ขณะที่เสด็จลงสำเภาไปค้าขาย เกิดพายุใหญ่เรือแตกกลางมหาสมุทร พระมหาชนกทรงว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ในมหาสมุทรถึง 7 วัน นางเมขลาเห็นจึงพูดลองใจว่าให้พระองค์ยอมตายเสียเสียตามบุญตามกรรม แต่พระองค์ก็ไม่ทรงฟัง ยังพยายามว่ายน้ำโต้คลื่นอยู่ตามเดิมนางเมขลาเห็นเลื่อมใสในความพยายาม จึงอุ้มพระองค์เหาะไปส่งที่ฝั่ง พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ วิริยบารมี
           คติธรรม : บำเพ็ญวิริยบารมี
“เกิดเป็นคนควรมีความพากเพียรให้ถึงที่สุด เพื่อให้ถึงแก่สิ่งที่มุ่งหวัง เพียรสุดกำลังจนชีวิตหาไม่ก็จงเพียร แล้วความสำเร็จจะมาเยือน”

ชาติที่ 3 สุวรรณสามชาดก 
        เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี – สุวรรณสามชาดก (สุ) พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพรหมฤๅษี ต้องรับภาระเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ตาบอด วันหนึ่งกบิลยักษ์แผลงศรมาถูกได้รับบาดเจ็บแสนสาหัส แต่ก็ไม่ได้โกรธ กลับแสดงเมตตาจิตต่อ และเทศชธรรมให้กบิลยักษ์ฟัง ด้วยอำนาจแห่งเมตตาธรรมทำให้พระสุวรรณสามหายเจ็บปวดรอดชีวิตมาได้ และบิดามารดาก็กลับมีจักษุดี พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ เมตตาบารมี ลิงก์ไปยังไฟล์วีดีโอ
         คติธรรม : บำเพ็ญเมตตาบารมี
“ว่าด้วยเรื่องของความมีเมตตาจิต ซึ่งจะทำให้ชีวิตสุขสงบได้โดยไร้ภยันอันตรายใดๆ ธรรมนั้นคือเกราะแก้วมิให้ถูกผู้ใดทำร้ายได้เป็นแน่แท้ ”

ชาติที่ 4 เนมิราชชาดก 
         เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี – เนมิราชชาดก (เน) เป็นชาติที่ 4 ของทศชาติชาดก พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเนมิราช โอรสเจ้าเมืองมิถิลา โปรดการบริจาคทานและรักษาพรหมจรรย์ พระอินทร์ทรงพอพระทัย ถึงกับให้พระมาตุลีนำทิพยรถมารับไปเที่ยวเมืองสวรรค์ และเมืองนรก แล้วเชิญให้ครองเมืองสวรรค์ พระเนมิราชไม่ทรงรับและเสด็จกลับบ้านเมืองของพระองค์ พอทรงชราก็ออกผนวช พระชาตินี้พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
         คติธรรม : บำเพ็ญอธิษฐานบารมี
“การหมั่นรักษาความดีประพฤติชอบโดยตั้งใจ โดยมุ่งมั่น หากทำความดีแล้วย่อมได้ดี ประพฤติชั่วย่อมได้ผลชั่วตอบแทน นี้เป็นเรื่องที่สมควรยึดมั่นโดยแท้”

ชาติที่ 5 มโหสถชาดก
         เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี
         คติธรรม : บำเพ็ญปัญญาบารมี
“ปัญญาอันล้ำเลิศนั้นย่อมทำคุณให้แก่บุคคล ยิ่งกว่ามีทรัพย์นับแสน แม้มิมีปัญญาดั่งปราชญ์ แต่ถ้าเป็นผู้รู้จักคิดให้รอบคอบก่อน ก็ย่อมเป็นผู้มีปัญญาและประพฤติชอบแล้ว”

ชาติที่ 6 ภูริทัตชาดก
         เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี
         คติธรรม : บำเพ็ญศีลบารมี
“ความโลภนั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายเช่นเดียวกับการเนรคุณ แต่ความอดทนย่อมประเสริฐยิ่งนักแล้ว”

ชาติที่ 7 จันทชาดก
          เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี
          คติธรรม : บำเพ็ญขันติบารมี
“เรื่องอาฆาตจองเวรนั้น ย่อมให้ทุกข์กลับคืนแก่ตนในที่สุด และความเขลาหลงในทรัพย์และสุขของผู้อื่นก็ย่อมให้ผลร้ายแก่ตัวได้ในไม่ช้าเช่นกัน”

ชาติที่ 8 นารทชาดก 
          เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
          คติธรรม : บญอุเบกขาบารมี
“สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำผิดบาปย่อมได้ชั่วช้าสามานย์เป็นผลตอบ และการคบมิตรสหายนั้นก็จะส่งผลดีเลวแก่ตัวบุคคลนั้นด้วย”

ชาติที่ 9 วิทูรชาดก
         เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี
         คติธรรม : บำเพ็ญสัจจบารมี
“เหตุแห่งความพิบัติคือการพนัน และการมีเมตตาจิตย่อมส่งผลให้ได้รับเมตตาจิตตอบด้วยในที่สุด”

ชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก 
         เพื่อบำเพ็ญทานบารมี สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หรือเรื่องพระเวสสันดร
         คติธรรม : บำเพ็ญทานบารมี
“สั่งสอนให้คนเราเพียรประกอบคุณความดีโดยมิท้อถอย หากรู้จักสละทรัพย์บริจาคทานเนื่องนิจก็จะเป็นที่สรรเสริญทั่วไป คนโลภคนจิต”

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ศีล 5 หรือ เบญจศีล

ศีล 5 หรือ เบญจศีล

ปาณาติปาตา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)
- เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวง รวมถึงการทำร้ายสัตว์ หรือมนุษย์ด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว

อทินฺนาทานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)
- เว้นจากการลักทรัพย์ เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ รวมถึงการเบียดบัง ฉ้อราษฎร์บังหลวง เอาเปรียบคนอื่นด้วย แม้แต่คิด หรือวางแผน ก็ถือว่าผิดศีลข้อนี้แล้ว

กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)
- เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ข้อนี้เพียงแค่คิดก็ผิดแล้ว

มุสาวาทา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)
- เว้นจากการพูดเท็จ คำหยาบ หรือพูดส่อเสียด รวมถึงการพูดให้คนแตกสามัคคีกันด้วย

สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (สิกฺขาปทํสมาทิยามิ)
- เว้นจากการดื่มน้ำเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท...

อานิสงส์ของการรักษาศีล 5

         ข้อที่ 1: ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
         ข้อที่ 2: ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครองจะมีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายที่มาราวี จ้องจะเบียดเบียนทำลาย
         ข้อที่ 3: ระหว่างลูก หลาน สามีและภรรยาจะอยู่รวมกันด้วยความผาสุก ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำกล้ำกราย ต่างคอรงกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
         ข้อที่ 4: เมื่อพูดอะไรจะมีแต่ผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์ เป็นที่จับใจไพเราะด้วยสัตย์ ด้วยศีล
         ข้อที่ 5: จะเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้าหลงหลัง จับโน่นชนนี่จนเหมือนคนบ้าคนบอ หาสติไม่ได้ ผู้มีศีล จะเป็นผู้ที่ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลกให้มีแต่ความอบอุ่น ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย ผู้ไม่มีศีล จะเป็นผู้ที่ทำลายหัวใจคนและสัตว์ให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อนอยู่ทั่วทุกหย่อมหญ้า



สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ๔ ตำบล

           พระบรมศาสดาจึงนำเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดีในเมืองกุสินารานคร แล้วเสด็จเข้าไปประทับ ณ สาลวันอุทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ใกล้เมือง กุสินารานคร แคว้นมัลละ โปรดให้พระอานนท์ปูลาดเตียงที่บรรทม ณ ระหว่างไม้รัง ต้นสาละ ทั้งคู่ แล้วเสด็จบรรทมสีหไสยา เป็นการนอนอย่างราชสีห์ คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มือซ้ายพาดไปตามลำตัว มือขวาช้อนศีรษะไม่พลิกกลับไปมา มีสติสัมปชัญญะ แต่มิมีอุฏฐานสัญญามนสิการ คือ ไม่มีพุทธประสงค์จะลุกขึ้นอีกต่อไป เนื่องจากเป็นไสยาวสาน คือ นอนครั้งสุดท้ายจึงนิยมเรียกว่า อนุฏฐานไสยา คือนอนโดยไม่ลุกขึ้นอีก

           ในเวลานั้น พระอานนท์เถระเจ้าได้กราบทูลว่า

"ในกาลก่อนเมื่อออกพรรษาแล้ว บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายในทิศต่าง ๆ ได้เข้าใกล้ สนทนาปราศัยได้ความเจริญใจ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจักไม่ได้โอกาสอันดีเช่นนั้น เหมือนกับเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่อีกต่อไป"

           เมื่อพระอานนท์กราบทูลเช่นนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่า

"อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบลนี้ เป็นสถานที่ควรแก่ความสังเวช เมื่อผู้มีศรัทธาได้ไปยังสถานที่ ๔  แห่งนี้ด้วยความเลื่อมใสเมื่อทำการกิริยา คือ ตายลงแล้ว จักได้ถึงสุคติ ไปเกิดในโลกสวรรค์ สังเวชนียสถานทั้ง ๔ อันได้แก่


๑. สถานที่พระพุทธองค์ประสูติจากพระครรภ์
๒. สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
๓. สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจักร
๔. สถานที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน
           อนึ่ง สังเวชนียสถาน มีความหมายถึง เป็นสถานที่ตั้งแห่งความสังเวช แต่คำว่าสังเวชในทางธรรมนั้น มีความหมายลึกซึ้งกว่าความหมายของคำว่าสังเวชที่พบเห็นกันทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ ในทางธรรมหมายถึง ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ถึงพระไตรลักษณ์  คือ ความเป็นอนิจจัง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ความทุกข์สลดใจ ความยึดมั่นถือมั่นไว้ไม่ได้  ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงามเกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป จึงจะเรียกว่า สังเวช

๑.  สถานที่พระพุทธองค์ทรงมีพระประสูติกาลจากพระครรภ์พระมารดา คือ อุทยานลุมพินี ตั้ง อยู่กึ่งกลางระว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะ กรุงเทวทหะเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาลห่างชายแดนภาคเหนือของประเทศอินเดีย ๖ กิโลเมตรครึ่ง บัดนี้เรียกว่า รุมมินเด

                                                         สถานที่ทรงประสูติ-เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช


๒. สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ใต้ร่มไม้พระศรีมหาโพธิ์ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันคือ ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา รัฐพิหารประเทศอินเดีย


                                          มหาเจดีย์ที่พุทธคยา-สถานที่ทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

๓. สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมจักร คือ สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา โปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือของเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ปัจจุบันนี้เรียกว่า สารนาถพาราณสี บัดนี้เรียกว่า วาราณสี ประเทศอินเดีย

                     ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สารนาถพาราณสี-สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร

๔. สถานที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ปัจจุบันี้เรียก เมืองกาเซีย จังหวัดโครักขปุระ ประเทศอินเดีย

                                       สาลวโนยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ-สถานที่ปรินิพพาน


สถานที่ทั้ง ๔ ตำบลนี้แล ควรที่พุทธบริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า จะดูจะเห็นและควรจะให้เกิดความสังเวชทั่วกัน"

บทสวดมนต์ไหว้พระ

            การท่องบทสวดมนต์ก่อนนอนจะช่วยให้เรามีสมาธิ จิตใจสงบ ผ่องใส อีกทั้งยังเป็นการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้ทำมาในแต่ละวันให้กับเพื่อนมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ต่างๆ บนโลก เมื่อเรามีสมาธิ จิตใจเย็นลง จะทำให้เรานอนหลับสบาย ตื่นเช้ามาจะรู้สึกสดใส พร้อมที่จะสู้ไปกับงาน หรือการเรียนได้อย่างมีความสุข ซึ่งในบทสวดมนต์นั้นไม่ว่าจะเป็นบทใดก็ตามล้วนแล้วแต่มีอานุภาในตัวเองอยู่มากมาย อีกทั้งยังแฝงไปด้วยข้อคิดดีๆ ที่จะเป็นหลักนำทางให้เราดำเนินชีวิตในทุกๆ วันไปได้อย่างราบรื่น ฉะนั้น การสวดมนต์ก่อนนอนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งปฏิบัติทุกวันก็จะส่งผลที่ดีในเรื่องของสมาธิ ปัญญา ทำให้ใจของเราสามารถพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างละเอียด รอบคอบ และใจเย็นมากขึ้น